ปัญหาการสูบบุหรี่ในเยาวชนกำลังเป็นเรื่องน่ากังวลของสังคมไทย จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าคนรุ่นใหม่อายุ 15-19 ปีกว่า 4.5 เเสนคน “สูบบุหรี่” เเละมีร้านค้าเพียง 3% เท่านั้นที่ขอตรวจดูบัตรประชาชนของผู้ซื้อ
สะท้อนให้เห็นว่าเเม้ประเทศไทยจะมีมาตรการควบคุมบุหรี่ที่เพิ่มความเข้มงวดมากขึ้น อย่างการกำหนดให้ซองหรือซองยาเส้นมีรูปแบบตามมาตรฐาน ห้ามเเบ่งขายเเละกำหนดอายุผู้ซื้อผู้ขาย เเต่กระนั้นก็ยังมีการจำหน่ายให้กับเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี อยู่ทั่วไป รวมไปถึงการใช้ “บุหรี่ไฟฟ้า” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ผิดกฏหมายในไทย
เเต่กลับมาการใช้กันอย่างเเพร่หลายมากขึ้น หาซื้อได้ตามตลาดใต้ดินเเละร้านค้าออนไลน์
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้วันที่ 31 พ.ค. ของทุกปีเป็น “วันงดสูบบุหรี่โลก” ซึ่งในปีนี้ WHO กำหนดประเด็นการรณรงค์ว่า “ปกป้องเยาวชนจากกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมยาสูบและป้องกันการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบและการใช้นิโคติน” ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขของไทย ยกประเด็นในการรณรงค์ปีนี้ คือ ติดบุหรี่ ติดโควิด เสี่ยงตายสูง #เลิกสูบลดเสี่ยง พร้อมเชิญชวนประชาชนใช้วิกฤตแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นโอกาสเริ่มต้นการเลิกสูบบุหรี่
ข้อมูลล่าสุดจาก บริษัท ฟิลลิป มอร์ริส เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของฟิลลิป มอร์ริส อินเตอร์เนชั่นแนล อิงค์ (PMI) ผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ยาสูบจากต่างประเทศ เจ้าของแบรนด์ดังอย่าง Marlboro และ L&M ระบุว่า ปัจจุบันยังมีผู้สูบบุหรี่ทั่วโลกจำนวน 1.1 พันล้านคน โดย ณ 31 มีนาคม 2563 ประมาณการว่ามีผู้สูบบุหรี่ที่เป็นผู้ใหญ่ทั่วโลก ประมาณ 10.6 ล้านคนที่เลิกสูบบุหรี่และเปลี่ยนมาใช้ยาสูบแบบไม่เผาไหม้ (heated tobacco product) ซึ่งมีจำหน่ายอยู่ในเมืองหลักและทั่วประเทศใน 53 แห่งทั่วโลก
นี่คือเเนวโน้มสำคัญที่ทำให้ “ฟิลลิป มอร์ริส” มีแผนที่จะยุติการผลิตและจัดจำหน่ายบุหรี่แบบดั้งเดิมทั้งหมด โดยเร็วที่สุดพร้อมผลักดันสินค้าที่เป็น “นวัตกรรมไร้ควัน” แทนในแบรนด์ IQOS
ทิศทางผลิตภัณฑ์ “ไร้ควัน” ในไทย
เจอรัลด์ มาร์โกลีส กรรมการผู้จัดการ บริษัทฟิลลิป มอร์ริส เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า ปัญหาความอันตรายของบุหรี่ซิกาแรต (บุหรี่เเบบดั้งเดิม) ซึ่งเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่ทราบว่า “การเผาไหม้” คือปัญหาที่แท้จริงไม่ใช่นิโคตินเป็นสาเหตุหลักอย่างที่เข้าใจผิดกัน เพราะการเผาไหม้ก่อให้เกิดสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งผู้สูบและสังคมรอบข้าง
เขามองว่า ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้สูบบุหรี่คือการเลิกบุหรี่อย่างถาวร หรือการไม่เริ่มสูบบุหรี่ตั้งแต่ต้น อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังมีผู้สูบบุหรี่ผู้ใหญ่เลือกจะสูบบุหรี่ต่อไปอีกราว 10.7 ล้านคน เเม้จะมีการณรงค์หรือการควบคุมอย่างเข้มงวดดังนั้นจึงควรหาทางเลือกที่อันตรายน้อยกว่าให้คนที่ยังสูบบุหรี่
ทั้งนี้ ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2560 ระบุว่า ผู้สูบบุหรี่ในไทย 10.7 ล้านคน (19.1%) เเบ่งเป็นผู้สูบบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงาน 56% ยาเส้นมวนเอง 51% มียอดผู้ได้รับควันบุหรี่มือสอง 17.3 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ 7.1 หมื่นคน (ปี 2561) ประมาณการณ์ความสูญเสียทางเศรษฐกิจราว 2.2 เเสนล้านบาท โดยผู้สูบบุหรี่กว่า 43% ไม่เคยหรือไม่อยากเลิก
ขณะเดียวกันอัตราผู้สูบบุหรี่ในประเทศไทยก้ไม่ได้ลงลงอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยจำนวนผู้สูบบุหรี่ในประเทศไทยลดลงจาก 19.9% ในปี 2558 เหลือ 19.1% ในปี 2560 ซึ่งนับว่าเป็นการลดลงที่น้อยมาก แม้ว่าจะมีมาตรการควบคุมการสูบบุหรี่ที่เข้มงวด
“เราเชื่อว่ารัฐบาลควรควบคุมผลิตภัณฑ์ไร้ควันที่มีนิโคตินอย่างเหมาะสม แทนที่จะห้ามการขายหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นทางเลือกของผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่ เเต่น่าเสียดายว่าการห้ามนำเข้า ไม่ได้ทำให้ผลิตภัณฑ์ไร้ควันหมดไปจากประเทศ รวมถึงไม่สามารถจำกัดการเข้าถึงของเยาวชนได้ เพราะยังมีคนไทยกว่า 5 เเสนคนเข้าถึงผลิตภัณฑ์ไร้ควัน ทั้งๆ ที่ไม่มีการวางขายอย่างถูกกฎหมาย พบได้ทั่วไปในโลกออนไลน์ ซึ่งส่งผลให้ผู้ขายในตลาดมืดมีอำนาจในการกำหนดทิศทาง ราคา ซึ่งอาจไม่มีมาตรฐานเเละจริยธรรมที่เพียงพอ”
สำหรับทิศทางการดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์ไร้ควันในเมืองไทย ผู้บริหารฟิลลิป มอร์ริส เปิดเผยว่า เเม้ตอนนี้จะยังไม่สามารถนำเข้าได้อย่างถูกกฎหมาย เเต่ทางบริษัทจะมุ่งมั่นสร้างความเข้าใจ สร้างการรับรู้เเละเผยเเพร่ผลวิจัยที่เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งมีการทุ่มงบประมาณราว 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อการวิจัยเเละพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ลดความเสี่ยงจากการสูบบุหรี่
โดยเขายกตัวอย่างประเทศที่มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไร้ควันของฟิลลิป มอร์ริส เเต่ไม่ได้รับความสนใจในกลุ่มเยาวชน
อย่าง ในญี่ปุ่นมีการใช้ผลิตผลิตภัณฑ์เเละบุหรี่ไฟฟ้าในเยาวชน ต่ำกว่า 0.1% เเละสวิตเซอร์เเลนด์ ที่เยาวชนอายุ 14-15 ปี เพียงจำนวนเล็กน้อยเท่านั้นที่ใช้ยาสูบเเบบให้ความร้อนเป็นประจำ
คุมเข้มร้านค้าขายบุหรี่ให้เยาวชน
ดังที่กล่าวมาข้างต้น ว่าในปี 2560 มีเยาวชนไทยอายุระหว่าง 15-19 ปีจำนวนกว่า 4.5 แสนคนที่สูบบุหรี่
และมีร้านค้าเพียง 3% เท่านั้นที่ขอตรวจบัตรประชาชนของผู้ซื้อ เป็นปัญหาใหญ่ที่หลายฝ่ายต้องร่วมมือกันแก้ไข
ผู้บริหารฟิลลิป มอร์ริส ให้ความเห็นว่า เด็กและเยาวชนไม่ควรบริโภคผลิตภัณฑ์ทุกประเภทที่มีส่วนประกอบของนิโคติน และบริษัทจะไม่ทำการตลาดกับเยาวชน เเต่จะทำงานเชิงรุกกับคู่ค้าที่เป็นร้านค้าเพื่อป้องกันการเข้าถึงบุหรี่
โดยปี 2562 ได้เปิดโครงการ “ปกป้องเยาวชนจากการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบ” (Youth Access Prevention Program ) อบรมร้านค้าในเครือข่าย 1.1 เเสนร้าน ย้ำให้ขอดูบัตรประจำตัวประชาชนหรือหลักฐานอื่นที่แสดงอายุของผู้ซื้อบุหรี่หากไม่แน่ใจว่าอายุมากกว่า 20 ปีหรือไม่
นอกจากนี้มีการปรับปรุงสัญญากับคู่ค้าโมเดิร์นเทรด ที่ครอบคลุมร้านค้ากว่า 1.6 หมื่นร้านทั่วประเทศ โดยเพิ่มข้อกำหนดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการจำกัดการเข้าถึงของเยาวชนเข้าไปด้วย
ทั้งนี้ ร้านค้าในเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว คิดเป็น 52% ของยอดขายของฟิลลิป มอร์ริสในไทย
จากจำนวนร้านจำหน่ายบุหรี่ในไทยทั้งหมดมีอยู่ราว 4.5 เเสนร้าน (รวมทั้งมีใบอนุญาตเเละไม่มีใบอนุญาต)
ด้านสถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 นั้น ถือว่าไม่ได้มีผลกระทบกับยอดขายของฟิลลิป มอร์ริสมากนัก
เเต่ก็มีการปรับการทำงานขององค์กร มีการปรับการทำงานใหม่ให้ยืดหยุ่นมากขึ้น โดยมาร์โกลีส ยอมรับว่าหลังทำงาน
ทำงานมาเเล้ว 26 ปี เเละมารับตำเเหน่งในไทยได้ 2 ปี ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ความท้าทายที่สุดในชีวิตการทำงานของเขา
มอง “ภาษีบุหรี่” ขึ้นได้เเต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป
“เราไม่ได้คัดค้านการขึ้นภาษี เราเห็นด้วยกับรัฐบาลด้วยซ้ำ เเต่อยากเห็นเป็นการขึ้นภาษีเเบบค่อยเป็นค่อยไป
คำนึงถึงผลกระทบผู้เกี่ยวข้องทั้งผู้บริโภค เกษตรกรผู้ปลุกยาสูบ เเละการขึ้นภาษีก็ไม่ได้ทำให้ยอดผู้สูบลดลงมากนักเช่นในปี 2560 หลังการขึ้นภาษี ทำให้ยาเส้นเเละบุหรี่เถื่อนมีการเติบโตมากขึ้น หลายประเทศจึงหาทางออกด้วยการหาทางลดอันตรายเเทน เมื่อยังมีผู้คนอีกจำนวนมากที่ไม่ยอมเลิก”
เเม้ผู้บริหารฟิลลิป มอร์ริสไม่ได้เผิดเผยถึงจำนวนเกษตรกรที่ปลูกยาสูบในไทย เเต่ระบุว่าเป็นพื้นที่ปลูกที่สำคัญ
ซึ่งในอนาคตเเม้บริษัทจะไม่ได้ผลิตเเละจำหน่ายบุหรี่เเบบดั้งเดิมเเล้ว เเต่ผลิตภัณฑ์ไร้ควันก็ยังมีส่วนผสมของนิโคตินอยู่เเต่ไม่มากเท่าเดิม จึงจะต้องมีการเยียวยาเกษตรกรเเละส่งเสริมให้ปลูกพืชอื่นร่วมด้วย
มาร์โกลีส ปิดท้ายด้วยประเด็นคดีข้อพิพาทการเลี่ยงภาษีนำเข้าบุหรี่ที่ดำเนินมาหลายปีว่า ฟิลลิป มอร์ริสจะยังคงสู้คดีให้ถึงที่สุด เเละจะยื่นอุทธรณ์ต่อไป เนื่องจากมองว่าไม่ตรงกับคำตัดสินขององค์กรการค้าโลก (WTO) ที่เคยมีคำตัดสินไปก่อนหน้านี้ โดยยืนยันว่าบริษัทได้ปฏิบัติตามข้อกฎหมายของไทยมาโดยตลอด เเละหวังจะมีทางออกของปัญหาที่ยืดเยื้อมานานนี้
อ่านเพิ่มเติม : ศาลสั่งปรับ “ฟิลลิป มอร์ริส” 1.2 พันล้าน นำเข้า”มาร์ลโบโร-แอลแอนด์เอ็ม” เลี่ยงภาษี
Related
May 31, 2020 at 01:28PM
https://ift.tt/2Mg2Ijq
มองทิศทางธุรกิจ “ไร้ควัน” ในไทยของ “ฟิลลิป มอร์ริส” ในวันงดสูบบุหรี่โลก - Positioning Magazine
https://ift.tt/2ZQAkws
Home To Blog
No comments:
Post a Comment